วันอาทิตย์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

บทคัดย่อ
การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรุ้แบบเบญจนาฏยกรรมวิธี
กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สาระนาฏศิลป์ ชั้นประถมศึกาปีที่ 5
เรื่อง ระบำนาฏยลีลากะลา-กลองยาว
ปีการศึกษา 2551 โรงเรียนวัดนิโครธาราม
โดย วัลลดา คงสามารถวัฒนา
เรื่องที่พัฒนา การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบเบญจนาฏยกรรมวิธี
กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สาระนาฏศิลป์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
เรื่อง ระบำนาฏยลีลากะลา-กลองยาว
ผู้พัฒนา นางวัลลดา คงสามารถวัฒนา
ปีที่พัฒนา ปีการศึกษา 2551
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของการพัฒนา
1. เพื่อพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ เบญจนาฏยกรรมวิธี กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สาระนาฏศิลป์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หน่วยที่ 2 ท้องถิ่นนาฏยกรรม เรื่อง รำบำนาฏยลีลา กะลา-กลองยาว
2. เพื่อศึกษาผลการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน จากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบเบญจนาฏยกรรมวิธี สาระนาฏศิลป์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หน่วยที่ 2 ท้องถิ่นนาฏยกรรม เรื่อง รำบำนาฏยลีลากะลา-กลองยาว
3. เพื่อเปรียบเทียบผลการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนจากการเรียนรู้โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบเบญจนาฏยกรรมวิธี ในสาระนาฏศิลป์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หน่วยที่ 2 ท้องถิ่นนาฏยกรรม เรื่อง รำบำนาฏยลีลา กะลา-กลองยาว ระหว่าง ก่อนการพัฒนาและหลังการพัฒนา
4. เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้สามารถสร้างองค์ความรู้ใหม่เป็นนาฏศิลป์เชิงสร้างสรรค์ชุดใหม่ สามารถนำเสนอให้ความบันเทิงและประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
ผลที่คาดว่าจะได้รับจากการพัฒนา
นักเรียนที่ได้รับการพัฒนาการเรียนรู้ สาระนาฏศิลป์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หน่วยที่ 2ท้องถิ่นนาฏยกรรม เรื่อง ระบำนาฏยลีลากะลา-กลองยาว โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบเบญจนาฏยกรรมวิธี จะมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการพัฒนา สูงกว่าก่อนการพัฒนา นักเรียนเกิดทักษะกระบวนการกลุ่ม มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ตามที่วางไว้ นักเรียนสามารถสรรสร้างผลงานทางนาฏศิลป์ และแสดงออกได้อย่างสร้างสรรค์
วิธีดำเนินการพัฒนา
นักเรียนที่เป็นกลุ่มเป้าหมายในการพัฒนา คือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียน วัดนิโคราราม ปีการศึกษา 2551 จำนวน 35 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนา คือกระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบเบญจนาฏยกรรมวิธี มีแบบทดสอบวัดความรู้ ความเข้าใจ ก่อน- หลังการพัฒนา การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 5 ขั้น คือ ขั้นที่ 1 เรียนรู้ตามต้องการ ขั้นที่ 2 ตำนานสืบค้น ขั้นที่ 3 ฝึกฝนชำนาญ ขั้นที่ 4 ประสานลีลา ขั้นที่ 5 นำพาบันเทิง ในแต่ละขั้น มีแผนการจัดการเรียนรู้ มีใบความรู้ แบบฝึกพัฒนาการเรียนรู้ ระหว่างเรียน มีเอกสารประกอบการเรียน แบบประเมินพฤติกรรมผู้เรียนด้านทักษะการปฏิบัติ แบบประเมินพฤติกรรมผู้เรียนด้านทักษะกระบวนการกลุ่ม แบบประเมินพฤติกรรมผู้เรียนด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ แบบสำรวจความพึงพอใจของผู้เรียนต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบเบญจนาฏยกรรมวิธี ผลการวิเคราะห์เครื่องมือมีคุณภาพและประสิทธิภาพทุกรายการ โดยได้จัดกิจกรรมการเรียนรู้กับนักเรียนกลุ่มเป้าหมายเพียงกลุ่มเดียวมีการทดสอบ ก่อน – หลัง การพัฒนา นำผลการพัฒนามาวิเคราะห์ โดยใช้ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนและหลัง การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ เบญจนาฏยกรรมวิธี เรื่อง ระบำนาฏยลีลากะลา-กลองยาว โดยใช้ t- test
ผลการพัฒนา
ผลการพัฒนาพบว่าองค์ประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบเบญจนาฏยกรรมวิธี ทุกรายการมีผลการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญ อยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ย 4.66 มีประสิทธิภาพ 89.23 / 89.57 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ 80 / 80 นักเรียนที่ได้รับการพัฒนาโดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ เบญจนาฏยกรรมวิธี เรื่อง ระบำนาฏยลีลากะลา-กลองยาว มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการพัฒนา สูงกว่าก่อนการพัฒนา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 นักเรียนทุกคนผ่านการประเมินพฤติกรรมผู้เรียนด้านทักษะการปฏิบัติ ผ่านการประเมินพฤติกรรมผู้เรียนด้านทักษะกระบวนการกลุ่ม ผ่านการประเมินพฤติกรรมผู้เรียนด้านคุณลักษณะ ที่พึงประสงค์ นักเรียนได้แสดงออกอย่างสร้างสรรค์ มีความรับผิดชอบ ใฝ่รู้ใฝ่เรียน เคารพสิทธิผู้อื่น ทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่นได้ มีจินตนาการ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีความรักสามัคคี และเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ นักเรียนมีความพึงพอใจและยอมรับใน ภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อนำมาสร้างสรรค์ผลงานทางนาฏศิลป์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น