วันอาทิตย์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ภาพบางภาพที่ยังประทับใจ

วันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดชมหาราช
๕ ธันวาคม ๒๕๕๐
รางวัลเหรียญทอง
งานศิลปหัตถกรรมนักเรียนภาคใต้ ปี ๒๕๕๐
การแข่งขันกีฬานักเรียน นักศึกษา เยาวชนประชาชน และและผู้นำท้องถิ่น
ประจำปี ๒๕๕๐
จัดการแข่งขันโดย องค์การบริหารส่วนจังหวัดพังงาณ สนามกีฬากลางจังหวัดพังงา
ระหว่างวันที่ ๔ - ๗ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๐

บทคัดย่อ
การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรุ้แบบเบญจนาฏยกรรมวิธี
กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สาระนาฏศิลป์ ชั้นประถมศึกาปีที่ 5
เรื่อง ระบำนาฏยลีลากะลา-กลองยาว
ปีการศึกษา 2551 โรงเรียนวัดนิโครธาราม
โดย วัลลดา คงสามารถวัฒนา
เรื่องที่พัฒนา การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบเบญจนาฏยกรรมวิธี
กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สาระนาฏศิลป์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
เรื่อง ระบำนาฏยลีลากะลา-กลองยาว
ผู้พัฒนา นางวัลลดา คงสามารถวัฒนา
ปีที่พัฒนา ปีการศึกษา 2551
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของการพัฒนา
1. เพื่อพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ เบญจนาฏยกรรมวิธี กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สาระนาฏศิลป์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หน่วยที่ 2 ท้องถิ่นนาฏยกรรม เรื่อง รำบำนาฏยลีลา กะลา-กลองยาว
2. เพื่อศึกษาผลการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน จากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบเบญจนาฏยกรรมวิธี สาระนาฏศิลป์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หน่วยที่ 2 ท้องถิ่นนาฏยกรรม เรื่อง รำบำนาฏยลีลากะลา-กลองยาว
3. เพื่อเปรียบเทียบผลการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนจากการเรียนรู้โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบเบญจนาฏยกรรมวิธี ในสาระนาฏศิลป์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หน่วยที่ 2 ท้องถิ่นนาฏยกรรม เรื่อง รำบำนาฏยลีลา กะลา-กลองยาว ระหว่าง ก่อนการพัฒนาและหลังการพัฒนา
4. เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้สามารถสร้างองค์ความรู้ใหม่เป็นนาฏศิลป์เชิงสร้างสรรค์ชุดใหม่ สามารถนำเสนอให้ความบันเทิงและประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
ผลที่คาดว่าจะได้รับจากการพัฒนา
นักเรียนที่ได้รับการพัฒนาการเรียนรู้ สาระนาฏศิลป์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หน่วยที่ 2ท้องถิ่นนาฏยกรรม เรื่อง ระบำนาฏยลีลากะลา-กลองยาว โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบเบญจนาฏยกรรมวิธี จะมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการพัฒนา สูงกว่าก่อนการพัฒนา นักเรียนเกิดทักษะกระบวนการกลุ่ม มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ตามที่วางไว้ นักเรียนสามารถสรรสร้างผลงานทางนาฏศิลป์ และแสดงออกได้อย่างสร้างสรรค์
วิธีดำเนินการพัฒนา
นักเรียนที่เป็นกลุ่มเป้าหมายในการพัฒนา คือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียน วัดนิโคราราม ปีการศึกษา 2551 จำนวน 35 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนา คือกระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบเบญจนาฏยกรรมวิธี มีแบบทดสอบวัดความรู้ ความเข้าใจ ก่อน- หลังการพัฒนา การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 5 ขั้น คือ ขั้นที่ 1 เรียนรู้ตามต้องการ ขั้นที่ 2 ตำนานสืบค้น ขั้นที่ 3 ฝึกฝนชำนาญ ขั้นที่ 4 ประสานลีลา ขั้นที่ 5 นำพาบันเทิง ในแต่ละขั้น มีแผนการจัดการเรียนรู้ มีใบความรู้ แบบฝึกพัฒนาการเรียนรู้ ระหว่างเรียน มีเอกสารประกอบการเรียน แบบประเมินพฤติกรรมผู้เรียนด้านทักษะการปฏิบัติ แบบประเมินพฤติกรรมผู้เรียนด้านทักษะกระบวนการกลุ่ม แบบประเมินพฤติกรรมผู้เรียนด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ แบบสำรวจความพึงพอใจของผู้เรียนต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบเบญจนาฏยกรรมวิธี ผลการวิเคราะห์เครื่องมือมีคุณภาพและประสิทธิภาพทุกรายการ โดยได้จัดกิจกรรมการเรียนรู้กับนักเรียนกลุ่มเป้าหมายเพียงกลุ่มเดียวมีการทดสอบ ก่อน – หลัง การพัฒนา นำผลการพัฒนามาวิเคราะห์ โดยใช้ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนและหลัง การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ เบญจนาฏยกรรมวิธี เรื่อง ระบำนาฏยลีลากะลา-กลองยาว โดยใช้ t- test
ผลการพัฒนา
ผลการพัฒนาพบว่าองค์ประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบเบญจนาฏยกรรมวิธี ทุกรายการมีผลการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญ อยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ย 4.66 มีประสิทธิภาพ 89.23 / 89.57 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ 80 / 80 นักเรียนที่ได้รับการพัฒนาโดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ เบญจนาฏยกรรมวิธี เรื่อง ระบำนาฏยลีลากะลา-กลองยาว มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการพัฒนา สูงกว่าก่อนการพัฒนา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 นักเรียนทุกคนผ่านการประเมินพฤติกรรมผู้เรียนด้านทักษะการปฏิบัติ ผ่านการประเมินพฤติกรรมผู้เรียนด้านทักษะกระบวนการกลุ่ม ผ่านการประเมินพฤติกรรมผู้เรียนด้านคุณลักษณะ ที่พึงประสงค์ นักเรียนได้แสดงออกอย่างสร้างสรรค์ มีความรับผิดชอบ ใฝ่รู้ใฝ่เรียน เคารพสิทธิผู้อื่น ทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่นได้ มีจินตนาการ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีความรักสามัคคี และเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ นักเรียนมีความพึงพอใจและยอมรับใน ภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อนำมาสร้างสรรค์ผลงานทางนาฏศิลป์

เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ

เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ
การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรุ้แบบเบญจนาฏยกรรมวิธี
กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สาระนาฏศิลป์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
เรื่อง ระบำนาฏยลีลากะลา-กลองยาว
ปีการศึกษา 2551 โรงเรียนวัดนิโครธาราม
โดย วัลลดา คงสามารถวัฒนา
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบ เบญจนาฏยกรรมวิธี
กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สาระ นาฏศิลป์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
เรื่อง ระบำนาฏยลีลา กะลา-กลองยาว
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบ เบญจนาฏยกรรมวิธี กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สาระนาฏศิลป์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง ระบำนาฏยลีลา กะลา-กลองยาว จัดทำขึ้นเพื่อให้ครูผู้สอนได้ใช้พัฒนาการเรียนรู้สาระนาฏศิลป์ของผู้เรียน ในด้านการสร้างสรรค์และการประยุกต์เอาชีวิตความเป็นอยู่และศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน มาเป็นองค์ความรู้ใหม่ จัดเป็นการแสดง ชุด ระบำ นาฏยลีลากะลา-กลองยาว ซึ่งเป็นนาฏศิลป์สร้างสรรค์โดยนำเอาหลักนาฏยประดิษฐ์มาใช้ในการประดิษฐ์ท่ารำ
การจัดการเรียนรู้ แบบเบญจนาฏยกรรมวิธี เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อให้เกิด องค์ความรู้ใหม่ ประกอบด้วยขั้นการจัดกิจกรรม 5 ขั้น ดังนี้
ขั้นที่ 1 เรียนรู้ตามต้องการ เป็นการเสนอแนวทางให้ผู้เรียนได้เลือกเรียนตามความสนใจ
ความต้องการ ความถนัด และความสามารถ โดยคำนึงถึงชุมชน/สังคม แหล่งเรียนรู้และ ภูมิปัญญาท้องถิ่น
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในขั้นนี้ฝึกให้ผู้เรียนรู้จักคิด วิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์ สามารถค้นพบศักยภาพความสนใจของตนเอง และหาทางเลือกที่เหมาะสม
ขั้นที่ 2 ตำนานสืบค้น เป็นการค้นหาความสัมพันธ์ระหว่างนาฏศิลป์ ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ส่งเสริมให้ผู้เรียน เห็นคุณค่าของนาฏศิลป์ที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทยและสากล
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในขั้นนี้ ส่งเสริมให้ผู้เรียนศึกษาค้นคว้าจากแหล่งเรียนรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ฝึกทักษะกระบวนการกลุ่ม
ขั้นที่ 3 ฝึกฝนชำนาญ เป็นการฝึกทักษะการปฏิบัติทางดนตรีและนาฏศิลป์จนเกิดความชำนาญ
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในขั้นนี้ ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความคิดและได้แสดงออกอย่างสร้างสรรค์ ฝึกการทำงานร่วมกันเป็นทีม การเรียนรู้ได้ด้วยตนเองและการฝึกปฏิบัติตามขั้นตอน มีสมาธิและรักการทำงาน มีระเบียบวินัย มีความรับผิดชอบ สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ อย่างมีความสุข
ขั้นที่ 4 ประสานลีลา เป็นการนำเอากิจกรรมทางดนตรี นาฏศิลป์ ที่ได้เรียนรู้และฝึกมาในแต่ละขั้น มาประสานเข้าด้วยกัน สอดแทรก ลีลาท่าทางการแสดง การออกแบบการแต่งกาย ที่สวยงามเหมาะสม เป็นนาฏศิลป์เชิงสร้างสรรค์ชุดใหม่ และจัดลำดับการนำเสนอที่ชวนติดตาม
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในขั้นนี้ ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ มีความเชื่อมั่น พัฒนาตนเองได้และแสดงออกได้อย่างสร้างสรรค์ มีความรับผิดชอบสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
ขั้นที่ 5 นำพาบันเทิง เป็นการนำเสนอผลงานทางนาฏศิลป์ ในรูปแบบของการแสดงบนเวทีและการแสดงกลางแจ้ง
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในขั้นนี้ เป็นการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ มีความเชื่อมั่นพัฒนาตนเองได้และแสดงออกได้อย่างสร้างสรรค์ มีสมาธิในการทำงาน มีระเบียบวินัย มีความรับผิดชอบ มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบ เบญจนาฏยกรรมวิธี ซึ่งเป็นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้ขั้นการสอน 5 ขั้น ใช้เวลาในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และการฝึกปฏิบัติ 20 ชั่วโมง จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 10 แผนการจัดการเรียนรู้ ดังนี้
ขั้นที่ 1 เรียนรู้ตามต้องการ เวลาเรียน 2 ชั่วโมง
ประกอบด้วย - แผนการจัดการเรียนรู้ 1 แผน
- แบบทดสอบวัดความรู้ – ความเข้าใจ ก่อนเรียน
- แบบบันทึกการร่วมอภิปรายกลุ่ม
- ใบความรู้ที่ 1 เรื่อง เพลงพื้นบ้านของชาวพังงา
- ใบความรู้ที่ 2 เรื่อง นาฏศิลป์พื้นบ้านของชาวพังงาและ
ดนตรีพื้นบ้านที่ชาวพังงานิยมเล่น
- แบบบันทึกการประเมินทักษะกระบวนการกลุ่ม- แบบบันทึกการประเมินพฤติกรรมผู้เรียนด้านคุณลักษณะ
ที่พึงประสงค์
ขั้นที่ 2 ตำนานสืบค้น เวลาเรียน 2 ชั่วโมง
ประกอบด้วย - แผนการจัดการเรียนรู้ 1 แผน
- แบบรายงานการศึกษาค้นคว้า
- แบบบันทึกการสัมภาษณ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น
- ใบความรู้ที่ 3 เรื่อง ประวัติความเป็นมาของการละเล่นกลองยาว
- ใบความรู้ที่ 4 เรื่อง ประวัติความเป็นมาของระบำกะลา
- แบบบันทึกการประเมินทักษะกระบวนการกลุ่ม- แบบบันทึกการประเมินพฤติกรรมผู้เรียนด้านคุณลักษณะ
ที่พึงประสงค์
ขั้นที่ 3 ฝึกฝนชำนาญ เวลาเรียน 8 ชั่วโมง และฝึกปฏิบัตินอกเวลาเรียน
ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ 4 แผน ดังนี้
1.แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 เรื่องจังหวะกลองยาว เวลาเรียน 2 ชั่วโมง
สื่อ / เอกสารประกอบแผน คือ
- เอกสารประกอบการเรียน เล่มที่ 1 จังหวะกลองยาว
- แบบบันทึกการประเมินพฤติกรรมผู้เรียนด้านทักษะการตีกลองยาว
- แบบบันทึกการประเมินทักษะกระบวนการกลุ่ม
- แบบบันทึกการประเมินพฤติกรรมผู้เรียนด้านคุณลักษณะ
ที่พึงประสงค์
2. แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง บทร้องแห่กลองยาว เวลาเรียน 2 ชั่วโมง
สื่อ / เอกสารประกอบแผน คือ
- ใบความรู้ที่ 5 เรื่อง บทร้องแห่กลองยาว
- แบบบันทึกการร่วมอภิปรายกลุ่ม
- แบบบันทึกการประเมินพฤติกรรมผู้เรียนด้านทักษะ การร้องบทร้อง
แห่กลองยาว พร้อมเกณฑ์การให้คะแนน
- แบบบันทึกการประเมินทักษะกระบวนการกลุ่ม
- แบบบันทึกการประเมินพฤติกรรมผู้เรียนด้านคุณลักษณะ
ที่พึงประสงค์
3. แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3 เรื่องท่ารำแห่กลองยาว เวลาเรียน 2 ชั่วโมง
สื่อ / เอกสารประกอบแผน คือ
- เอกสารประกอบการเรียน เล่มที่ 2 ท่ารำแห่กลองยาว
- แบบบันทึกการประเมินพฤติกรรมผู้เรียนด้านทักษะ การรำแห่กลองยาว
- แบบบันทึกการร่วมอภิปรายกลุ่ม
- แบบบันทึกการประเมินทักษะกระบวนการกลุ่ม
- แบบบันทึกการประเมินพฤติกรรมผู้เรียนด้านคุณลักษณะ
ที่พึงประสงค์
4. แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 4 เรื่อง ท่ารำระบำกะลา เวลาเรียน 2 ชั่วโมง
สื่อ / เอกสารประกอบแผน คือ
- ใบความรู้ที่ 6 เรื่อง เรียนรู้สู่โครงงาน
- แบบบันทึกการร่วมอภิปรายกลุ่ม
- แบบบันทึกประเมินโครงงาน พร้อมเกณฑ์การให้คะแนน
- เอกสารประกอบการเรียน เล่มที่ 3 ท่ารำระบำกะลา
- แบบบันทึกการประเมินพฤติกรรมผู้เรียนด้านทักษะ การรำระบำกะลา
- แบบบันทึกการประเมินทักษะกระบวนการกลุ่ม
- แบบบันทึกการประเมินพฤติกรรมผู้เรียนด้านคุณลักษณะ
ที่พึงประสงค์
ขั้นที่ 4 ประสานลีลา เวลาเรียน 6 ชั่วโมง และฝึกปฏิบัตินอกเวลาเรียน
ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ 3 แผน ดังนี้
1. แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 เรื่องท่ารำคู่ กะลา-กลองยาว เวลาเรียน 2 ชั่วโมง
สื่อ / เอกสารประกอบแผน คือ
- เอกสารประกอบการเรียน เล่มที่ 4 ท่ารำคู่กะลา-กลองยาว
- แบบบันทึกการประเมินพฤติกรรมผู้เรียนด้านทักษะ การรำคู่กะลา-กลองยาว
- แบบบันทึกการประเมินทักษะกระบวนการกลุ่ม
- แบบบันทึกการประเมินพฤติกรรมผู้เรียนด้านคุณลักษณะ ที่พึงประสงค์
2. แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2 เรื่องการประสานลีลา เวลาเรียน 2 ชั่วโมง
สื่อ / เอกสารประกอบแผน คือ
- แบบบันทึกการประเมินทักษะกระบวนการกลุ่ม
- แบบบันทึกการประเมินพฤติกรรมผู้เรียนด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์
3. แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3 เรื่องการออกแบบการแต่งกาย
ชุด ระบำนาฏยลีลากะลา-กลองยาว
สื่อ / เอกสารประกอบแผน คือ
- ใบความรู้ที่ 6 เรื่อง เรียนรู้สู่โครงงาน
- แบบบันทึกการประเมินโครงงาน พร้อมเกณฑ์การให้คะแนน
- แบบบันทึกการประเมินทักษะกระบวนการกลุ่ม
- แบบบันทึกการประเมินพฤติกรรมผู้เรียนด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์
ขั้นที่ 5 นำพาบันเทิง เวลาเรียน 2 ชั่วโมง
ประกอบด้วย - แผนการจัดการเรียนรู้ 1 แผน
- แบบบันทึกการประเมินทักษะกระบวนการกลุ่ม
- แบบบันทึกการประเมินพฤติกรรมผู้เรียนด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์
- แบบประเมินความพึงพอใจของผู้เรียน
- แผนผังการแสดงบนเวที
- วีดีทัศน์ การแสดง ชุด ระบำนาฏยลีลากะลา-กลองยาว
- แบบบันทึกคะแนน ระหว่างเรียน ทั้ง 5 ขั้น
- แบบทดสอบวัดความรู้ - ความเข้าใจหลังเรียน

ผลงานที่ภูมิใจ

ผลงานที่ภาคภูมิใจ
- จัดตั้งวงดุริยางค์ของโรงเรียน ฝึกนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 – 6 จำนวน 60 คน ให้สามารถ เล่นดนตรี ประเภท กลอง เมโลเดียน เบลไลลา และมาร์ชิ่งเบล บรรเลงเพลงในพิธีการและเพลงสำหรับเดิน ได้จำนวน20 เพลง สามารถนำวงดุริยางค์ของโรงเรียนร่วมกิจกรรมในชุมชน ทั้งระดับ อำเภอ และระดับจังหวัด ได้ทำชื่อเสียงให้โรงเรียนเสมอมา
- จัดตั้งวงกลองยาว ของโรงเรียน มีนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4- 6 ร่วมวง จำนวน 50 คน สามารถร่วมกิจกรรมสัมพันธ์กับชุมชน ได้เป็นอย่างดี ทำให้โรงเรียนกับชุมชนมีความสัมพันธ์อันดีต่อกัน
- เป็นครูผู้สอนและฝึกซ้อมกิจกรรมนาฏศิลป์ และการแสดงต่างๆของโรงเรียน ได้ร่วมแข่งขัน ร่วมแสดงในงานวันสำคัญ และงานประเพณีต่างๆ เสมอมา
- ได้รับคัดเลือกเป็นผู้บังคับบัญชาลูกเสือดีเด่น ของจังหวัด ประจำปี 2549
- ได้รับคัดเลือกเป็นครูผู้สอน สาระนาฏศิลป์ ดีเด่น ระดับอำเภอ ประจำปี 2551

ประวัติส่วนตัวและประวัติการรับราชการ

ประวัติส่วนตัว
ชื่อ นางวัลลดา คงสามารถวัฒนา
เกิด วันศุกร์ ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2503
สถานที่เกิด ตำบลท่าข้าม อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง
ปัจจุบัน ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ชำนาญการ โรงเรียนวัดนิโครธาราม อำเภอทับปุด
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพังงา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ประวัติการศึกษา
พ.ศ. 2522 ป.กศ. วิทยาลัยครูภูเก็ต
พ.ศ. 2524 พ.ม. ( อบรมนาฏศิลป์ ภาคฤดูร้อน )
พ.ศ. 2528 ศศ.บ. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
ประสัติการรับราชการ
พ.ศ. 2522 โรงเรียนหาดทรายทอง ตำบลเกาะสุกร อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง
พ.ศ. 2525 โรงเรียนทุ่งรวงทอง ตำบลท่าข้าม อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง
พ.ศ. 2535 โรงเรียนวัดนิโครธาราม ตำบลทับปุด อำเภอทับปุด จังหวัดพังงา
จนถึงปัจจุบัน

วันเสาร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553